ตอบคำถามคนเห็นต่างที่ว่าเรียนบาลีไปทำไม

ตอบคำถามคนเห็นต่างที่ว่าเรียนบาลีไปทำไม, เรียนบาลี, บาลี, เรียนบาลีไปทำไม, บาลีภาษา, พัด, พัดเหลือง, พัดประโยค ๙, พัด ป.ธ. ๙, ประโยค ๙, ป.ธ. ๙, พระเณร, พระเณรเรียนบาลี
พัดประโยค ๙, 

พระเณรที่เรียนบาลี จนจบประโยคไหนๆก็ตาม ต่อให้เป็นประโยค ๙ ก็ไม่ได้หมายความว่า 

จะเป็นผู้บรรลุธรรมหรือเป็นพระอรหันต์ทันที เป็นเพียงแต่เชี่ยวชาญในภาษาๆหนึ่งเท่านั้น

โดยเฉพาะบาลีภาษา ที่มีมาในพระไตรปิฏก

เมื่อปริยัติถูกต้อง ปฏิบัติย่อมไม่คลาดเคลื่อน ปฏิเวธก็สามารถเกิดขึ้นได้ในโอกาสต่อ ๆ ไป

หากไม่คงปริยัติไว้ วันหนึ่งข้างหน้า มีผู้ไม่รู้ไม่เข้าใจบาลีภาษา มาตีความผิดเพี้ยนไป

ก็เป็นความเสียหายที่จะเกิดขึ้นได้กับหลักเดิมที่มีอยู่ พวกเราจะอนุวัตรตามโลกมากน้อย

เพียงใดก็ตาม แต่ก็ต้องยึดหลักเดิมไว้เป็นบทเทียบเคียง ถ้าไม่อย่างนั้น อีกหลายสิบปี

อีกหลายร้อยปีข้างหน้า ไม่มีคนเข้าใจอักขระภาษาบาลี มัวแต่ยึดเอาฉบับที่แปลไว้เป็น

ปัจจุบันเท่านั้น แล้วพวกเราจะตีความหลักการให้เข้ากับยุคนั้น ๆ ได้อย่างไร จะอนุวัตร

ตามโลกสมัยนั้น จะอธิบายให้คนในยุคนั้น ๆ ฟังได้อย่างไร เพราะทุกวันนี้ แม้ภาษาไทยเอง

ก็มีคำผิดเพี้ยนไปมาก มีคำเกิดใหม่ขึ้นแทบทุกวัน

เพราะเหตุฉะนี้นั้น การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี จึงยังคงต้องมีอยู่ และต้องให้อยู่รอด

ปลอดภัยให้นานที่สุด

 

ฐาตุ จิรํ สตํ ธมฺโม 

ขอธรรมของสัตบุรุษทั้งหลาย จงดำรงอยู่นาน

 

ธมฺมทฺธรา จ ปุคฺคลา มา วินสฺสนฺตุ 

และ บุคคลทั้งหลายที่ทรงธรรม จงอย่าเสื่อมสูญ

 

สงฺโฆ ภวตุ สมคฺโค 

ขอพระสงฆ์จงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน

 

อตฺถาย หิตาย สุขาย สพฺพโลกสฺสาติ

เพื่อประโยชน์ เกื้อกูล และสุขแก่โลกทั้งปวง เทอญ ฯ

 

ขอบคุณบทความจาก พระมหาจิรวัฒน์ ศรีสุวรรณ